หมวดหมู่
minebeauty

เมนู

โรคซึมเศร้า อันตรายที่รักษาให้หายได้

โรคซึมเศร้า อันตรายที่รักษาให้หายได้

โรคซึมเศร้า คือ ความผิดปกติของการหลั่งสารเคมีในสมอง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะรู้สึกเศร้าตลอดเวลา หดหู่ หม่นหมอง มองโลกในแง่ลบ เก็บเนื้อเก็บตัว รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่าและคิดถึงเรื่องความตาย วันนี้ เว็บผู้หญิง minebeauty เลยจะพาทุกคนมาดู สาเหตุ อาการ และวิธีรักษาโรคซึมเศร้ากัน

โรคซึมเศร้า

สาเหตุของ โรคซึมเศร้า

 

  1. เกิดจากกรรมพันธุ์ สำหรับใครที่มีคนในครอบครัวเป็น โรคซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิต มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปประมาณ 20% 
  2. เกิดจากสภาพแวดล้อม ทั้งสภาพแวดล้อมภายในครอบครัวหรือบริบทสังคมในที่ทำงาน ที่มีความกดดันสูง มีโอกาสที่ทำให้ความคิดและพฤติกรรมเปลี่ยน ทำให้เศร้าหรือมีความคิดท้อแท้ น้อยใจตัวเองจนเกิดการซึมเศร้า เป็นต้น
  3. โรคซึมเศร้า​ เกิดจากลักษณะนิสัย คือ ชอบมองตัวเองในแง่ลบ มองโลกในแง่ร้าย หากเจอเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบจิตใจ ก็มีโอกาสที่ทำให้พัฒนาความคิดไปสู่โรคซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น
  4. เกิดจากสารเคมีในสมอง มีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน และนอร์เอพิเนฟริน ความผิดปกติของสารเหล่านี้ทำให้สมดุลในสมองเสียจนนำมาสู่โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า

อาการโรคซึมเศร้า

  • โรคซึมเศร้าอาการ รู้สึกเศร้า หดหู่  ท้อแท้ ร้องไห้โดยไม่ทราบสาเหตุ กังวลหรือหงุดหงิดมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้าง หรือสูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง
  • สูญเสียความสนใจในหลายกิจกรรม ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ เก็บตัว ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรืออาจรับประทานอาหารมากกว่าปกติได้
  • โรคซึมเศร้าอาการ นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือนอนหลับมากจนเกินไป
  • การเคลื่อนไหวช้าลง หรืออาจกระวนกระวายมากจนเกินไป
  • อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง
  • สมาธิลดลง ความจำแย่ลง
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า สิ้นหวัง คิดว่าตนเองเป็นภาระ สูญเสียความมั่นใจในตนเอง
  • ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดถึงความตายบ่อยครั้ง

โรคซึมเศร้ามีกี่แบบ

  • โรคซึมเศร้าทั่วไป แสดงอาการเบื่อ ท้อแท้ และเศร้าสลดอย่างมากนานเกิน 2 สัปดาห์
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง รุนแรงน้อยกว่ากรณีแรก แต่เป็นต่อเนื่องนานอย่างน้อย 2 ปี และมักนานกว่า 5 ปี
  • โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ดิสออเดอร์ มีอารมณ์เซ็ง ซึมเศร้า สลับกับร่าเริงผิดปกติ ใน 1 ปีอาจมีอาการนี้หลายครั้ง มีผลต่อการตัดสินใจ เช่น ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายหรือตัดสินใจผิด ๆ และอาจคิดฆ่าตัวตาย
วิธีรักษาโรคซึมเศร้า
  1. วิธีรักษาโรคซึมเศร้า การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาหลัก โดยยารักษาอาการซึมเศร้าจะไปช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สมดุล ส่วนระยะเวลาในการรักษาสำหรับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าครั้งแรกโดยส่วนใหญ่ประมาณ 9-12 เดือน 
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด เป็นการรักษาที่มักใช้ควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยา ซึ่งการทำจิตบำบัดมีหลายวิธี เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม , การบำบัดแบบประคับประคอง เป็นต้น
  3. การรักษาด้วยอุปกรณ์ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการรักษาโดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านหนังศีรษะ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้ากระตุ้นเซลล์สมอง ส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีข้อห้ามในการให้ยารักษา
  4. การรักษาด้วยไฟฟ้า ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือมีอาการรุนแรงมากเฉียบพลัน หรือมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

บทความน่าสนใจ

นวดอโรม่า (Aroma Massage) คือ ศาสตร์การนวดอีกแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นการใช้น้ำมันหอมระเหย เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญประกอบการนวด

โรคซึมเศร้า เป็นอาการผิดปกติของอารมณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมเศร้าหมองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แฮม เป็นชิ้นเนื้อสัตว์จากต้นขาหลังของสัตว์บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สุกร แฮมส่วนใหญ่ผ่านการถนอมอาหารและสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสุกและดิบ

อาร์ติโชค เป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในยุโรปเขตเมดิเตอร์เรเนียน มีสรรพคุณทางยา สามารถบริโภคสดหรือปรุงเป็นอาหาร

ชุดเดรส เป็นเสื้อผ้าที่ผู้หญิงหรือเด็กหญิงมักสวมใส่ ซึ่งเป็นเสื้อผ้าชิ้นเดียวที่มีกระโปรงยาวเท่าใดก็ได้ และสามารถเป็นทางการหรือลำลองก็ได้